ระบบสายตา 2 ระบบ ของ สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

กูดเดลและมิลเนอร์ได้รวบรวมหลักฐานทั้งทางกายวิภาค, ทางประสาทจิตวิทยา (Neuropsychology), ทางสรีรวิทยาไฟฟ้า (Electrophysiology) และทางความประพฤติเพื่อสนับสนุนแบบ (Model) ในสมมุติฐานของตน โดยแบบนั้นแสดงว่า

  • ทางสัญญาณด้านล่างที่เกี่ยวข้องการรับรู้ แสดงแผนภูมิทางโลกของสายตาที่ละเอียดเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้
  • ทางสัญญาณด้านบนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ แปลงข้อมูลสายตาให้เป็นพิกัดเพื่อการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน[2] เช่นการเอื้อมมือไปหยิบของ

แบบนั้นยังเสนอด้วยว่า

  • ระบบการรับรู้ทางตาเข้ารหัส[lower-roman 2] คุณลักษณะต่าง ๆ ของอารมณ์หนึ่ง ๆ มีขนาดเป็นต้นโดยเทียบเคียงกับอารมณ์อื่น กล่าวโดยอีกนัยคือ ระบบใช้วิธีการวัดระยะแบบเทียบเคียงและใช้กรอบอ้างอิงแบบมองจากภาพ (Scene-based frames of reference)
  • ระบบควบคุมการกระทำอาศัยตาใช้วิธีการวัดระยะจริง ๆ และใช้กรอบอ้างอิงแบบมองจากคนดู (Egocentric frames of reference) คือคำนวณคุณลักษณะต่าง ๆ ของอารมณ์เทียบเคียงกับคนดู

จึงปรากฏว่า ในภาพลวงตาที่มีวัตถุขนาดเท่ากัน ระบบการรับรู้ถูกหลอกว่าวัตถุมีขนาดต่างกัน แต่การกระทำที่อาศัยตากลับไม่มีผลกระทบคือสามารถทำการคว้าจับวัตถุนั้นได้อย่างปกติ เพราะว่าวิธีการวัดระยะและแบบของกรอบอ้างอิงของระบบทั้งสองต่างกัน ระบบทางสัญญาณด้านบนจึงให้ผลเป็นการคว้าจับวัตถุที่ถูกต้อง ส่วนระบบทางสัญญาณด้านล่างให้ผลเป็นภาพลวงตา[3]

นอร์แมนเสนอแบบอีกอย่างหนึ่งที่คล้ายกัน และพรรณนาความแตกต่างกันของสองระบบดังนี้คือ[4]


ระบบสัญญาณด้านล่างระบบสัญญาณด้านบน
หน้าที่การรู้จำและการจำแนกวัตถุควบคุมพฤติกรรมอาศัยตา
มีความไวสูงต่อความถี่ปริภูมิ คือรายละเอียดของวัตถุความถี่ทางกาลเวลา คือการเคลื่อนไหวของวัตถุ
ความจำตัวแทนวัตถุถูกเก็บไว้ระยะยาวการเคลื่อนไหวถูกเก็บไว้ระยะสั้น
ความเร็วค่อนข้างช้าค่อนข้างเร็ว
ระดับการรับรู้ค่อนข้างสูงค่อนข้างต่ำ
กรอบอ้างอิงมองจากภาพ หรือวัตถุเป็นศูนย์กลางมองจากคนดู หรือคนดูเป็นศูนย์กลาง
ข้อมูลสายตาที่ Fovea หรือรอบๆ Foveaจากจอสายตาทั้งหมด
การมองดูด้วยตาเดียวมีผลนิดหน่อยมีผลมาก เช่นต้องใช้ พารัลแลกซ์โดยเคลื่อนที่[lower-roman 3]

ใกล้เคียง

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 1) สมมุติว่า..? สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 2) สมมุติฐานเฉพาะกิจ สมมุติฐานว่าง สมมุติฐานการฟื้นตัวทางสังคม สมมุติฐาน สมมุติสงฆ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1374953 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18037456 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19428404 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7552179 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9751656 //doi.org/10.1016%2F0166-2236(92)90344-8 //doi.org/10.1016%2FS0959-4388(98)80042-1 //doi.org/10.1016%2FS0960-9822(95)00133-3 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2007.10.005 //doi.org/10.1016%2Fj.neuropsychologia.2009.02.009